birdtoday

ไซเตส Cites เรื่องที่คนรักนกแก้วต้องรู้

ไซเตส Cites เรื่องที่คนรักนกแก้วต้องรู้

อนุสัญญาไซเตส (CITES)

ไซเตส (CITES)คืออนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ( The Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora ) หรือเรียกอีกอย่างหน่ึงว่า อนุสัญญาวอชิงตัน ( Washington Convention )

ประเทศไทยเป็นสมาชิกลำดับที่ 80 โดยลงนามรับรอง อนุสัญญาในปี 2518 และให้สัตยาบันในวันที่ 21 มกราคม 2526 คณะกรรมการ CITES ประจำประเทศไทย สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เนื่องจากกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ได้มีคำสั่งเลขที่339/2535 ลงวันที่12 มิถุนายน 2535 แต่งตั้งคณะกรรมการ CITES ประจำประเทศไทยข้ึน โดยมีหน้าที่ดำเนินการในกิจกรรมต่างๆและให้คำ ปรึกษาแก่รัฐมนตรีในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญา CITES ในประเทศไทย

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานของ CITES ในประเทศไทย มอบหมายให้ส่วนราชการที่มีหน้าที่โดยตรง ในการดูแลชนิดพันธุ์ที่ CITES ควบคุม คือ

  • สัตว์ป่า พืชป่า ของป่าอยู่ในความรับผิดชอบของกรมป่าไม้
  • พืช อยู่ในความรับผดิดชอบของกรมวิชาการเกษตร
  • สัตว์น้ำ อยู่ในความรับผิดชอบของกรมประมง

จุดประสงค์ของ CITESคือ

การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชป่าในโลกเพื่อประโยชน์แห่งมวล มนุษย์ชาติโดยเน้นทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์หรือมีการคุกคาม ทำให้มีปริมาณร่อยหรอจนอาจเป็นเหตุให้สูญพันธุ์ วิธีการอนุรักษ์ของ CITES ก็คือการสร้างเครือข่ายทั่วโลกในการควบคุมการค้าระหว่าง ประเทศ ( International Trade ) ทั้งสัตว์ป่า พืชป่าและผลิตภัณฑ์แต่ไม่ควบคุมการค้าภายในประเทศ สำหรับ ชนิดพันธุ์อื่นๆ (Native Species)

ระบบการควบคุมของ CITES

การค้าสัตว์ป่า พืชป่าและผลิตภัณฑร์ะหว่างประเทศจะถูกควบคุมโดยระบบใบอนุญาต ( Permit ) ซึ่ง หมายถึงว่าสัตว์ป่าและพืชป่าที่CITES ควบคุมต้องมีใบอนุญาตในการ 1. นำเข้า ( Import ) 2. ส่งออก( Export ) 3. นำผ่าน( Transit ) 4. ส่งกลับออกไป ( Re-export )

โครงสร้างของ CITES ในประเทศไทย

ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฉบับแรก เมื่อ พ.ศ.2503 ซึ่งเน้นการสงวน คุ้มครองสัตว์ป่าชนิดพันธ์ที่มีอยู่ในประเทศไทยเป็นหลัก มิได้ครอบคลุมไปถึงสัตวป่าที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ใน ต่างประเทศซึ่งถูกนำเข้ามาในประเทศไทยเพื่อการค้า สวนสัตว์ หรือเพาะพันธ์ ทำให้ประเทศไทยถูกพิจารณา ลงโทษจากกลุ่มประเทศภาคีอนุสัญญา CITES ด้วยการห้ามทำการค้าสัตว์ป่าและผลิตภัณฑ์ กับประเทศไทย( Trade ban ) ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ.2534 เป็นต้นมา ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2535 ประเทศไทยได้ตราพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ข้ึน ซึ่งมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการนำเข้าส่งออกและการนำผ่านชนิดพนัธุ์สัตวป่าที่ CITES ควบคุม

และกรมป่าไม้ได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับสำนักเลขาธิการ CITES ถึงความพยายามและความตั้งใจจริงของประเทศไทย ในการถือปฏิบัติตามอนุสัญญา CITES นับแต่น้ีต่อไป เป็นผลให้สำนักเลขาธิการ CITES ประกาศยกเลิก Trade ban ต่อประเทศไทย ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ.2535 เป็นต้นมา

สำหรับพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่ า พ.ศ.2535 มาตรา 23 หมวด 4 กล่าวถึงการนำเข้า ส่งออก นำผ่านซึ่งชนิดพนัธุ์สัตวป่าที่CITES ควบคุม ต้องได้ร้ับอนุญาตจากอธิบดีการจัดตั้งด่านตรวจสัตว์ป่า ซึ่งในหลักการจะหมายถึงด่านตรวจสัตวป่าระหว่างประเทศนั่นเอง

สำหรับชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ CITES ควบคุม จะระบุไว้ในบัญชีหมายเลข 1,2,3 ( Appendix ) ของอนุสัญญาฯ โดยได้กำหนดหลักการไว้ว่า

 

ชนิดพันธุ์ในบัญชีหมายเลข1 เป็นชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ ห้ามค้าโดยเด็ดขาด เนื่องจากใกล้จะสูญพันธุ์ยกเว้นเพื่อการศึกษา วิจัยและเพาะพันธุ์แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องได้รับความยินยอมจากประเทศที่จะนำเข้าเสียก่อน ประเทศส่งออกจึงจะออกใบอนุญาตส่งออกให้ได้โดยจะต้องคำนึงถึงความอยู่รอดของชนิดพันธ์นั้นๆด้วย

1 กระทิง 27 เสือดาวหรือเสือดำ
2 กวางผา 28 เสือไฟ
3 กูปรี 29 เสือลายเมฆ
4 ชะนีธรรมดา 30 หมีควายหรือหมีดำ
5 ชะนีมงกุฎ 31 หมีหมาหรือหมีคน
6 ชะนีมือดำ 32 ไก่ฟ้าหางลายขวาง
7 ชะมดแปลงลายจุดหรืออีเห็นลายเสือ 33 นกกาฮัง
8 ช้าง 34 นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร
9 นากใหญ่ธรรมดา 35 นกโจรสลัด
10 เน้ือทราย 36 นกชนหิน
11 ปลาวาฬแกลบครีบดำ 37 นกชาปีไหน
12 ปลาวาฬมิงค์ 38 นกชายเลนเขียวลายจุด
13 ปลาวาฬหัวทุย 39 นกแต้วแล้วท้องดำ
14 พะยูน หรือหมูน้ำ 40 เป็ดก่า
15 แมวดาวหรือแมวแกว 41 เหยี่ยวเพเรกริน
16 แมวป่าหัวแบน 42 จระเข้น้ำเค็ม
17 แมวลายหินอ่อน 43 จระเข้น้ำจืด
18 แรด 44 ตะกวด
19 กระซู่ 45 ตะโขง
20 ละองหรือละมั่ง46 เต่ากระอาน
21 เลียงผา 47 เต่ากระ
22 ปลาโลมาขาวเทา 48 เต่าตนุ
23 ปลาโลมาขาวทะเลใต้ 49 เต่าทะเลลอกเกอร์เฮด
24 ปลาโลมาหัวบาตรหลังเรียบ 50 เต่าหญ้าตาแดงหรือเต่าสังกะสี
25 สมเสร็จ 51 เต่ามะเฟือง
26 เสือโคร่ง

ชนิดพันธุ์ในบัญชีหมายเลข 2 เป็นชนิดพันธ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ยังไม่ถึงกับใกล้จะสูญพันธ์ จึงยังอนุญาตให้ค้าได้แต่ต้องมีการควบคุมไม่ใหเ้กิดความเสียหาย หรือลดปริมาณลงอย่างรวดเร็วจนถึงจุดใกลจ้ะสูญพันธุ์โดยประเทศที่จะส่งออกต้องออกหนังสืออนุญาตให้ส่งออกและรับรองว่า การส่งออกแต่ละคร้ังจะไม่กระทบกระเทือนต่อการดำรงอยู่ของชนิดพันธ์นั้นๆตามธรรมชาติ

1 ค้างคาวแม่ไก่ภาคกลางPteropus lylei 66 นกยูง
2 ค้างคาวแม่ไก่เกาะPteropus hypomelanus 67 เหยี่ยวออสเปร
3 ค้างคาวแม่ไก่ฝน Pteropus vampyrus 68 เหยี่ยวขาว
4 ชะมดแปลงลายแถบ 69 เหยี่ยวดำ
5 นากใหญ่ขนเรียบ 70 เหยี่ยวแดง
6 นากใหญ่จมูกขนหรือนากใหญ่หัวปลาดุก 71 เหยี่ยวกิ้งก่าสีน้ำตาล
7 นากเล็กเล็บสั้น 72 เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ
8 ปลาโลมาจุก 73 เหยี่ยวนกเขาหงอน
9 ปลาโลมาหัวขวดมลายู 74 เหยี่ยวนกเขาหงอน
10 ปลาโลมาหัวขวดธรรมดา 75 เหยี่ยวนกกระจอกใหญ่
11 ปลาโลมาหัวขวดปากสั้น 76 เหยี่ยวนกเขาพันธุ์จีน
12 ปลาโลมาหัวบาตรครีบหลัง 77 เหยี่ยวนกเขาชิเครา
13 ปลาวาฬแกลบครีบขาวดำ 78 เหยี่ยวนกกระจอกเล็ก
14 ลิงลม 79 เหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่ น
15 ลิงกัง 80 เหยี่ยวผึ้ง
16 ลิงไอ้เงี้ยะ 81 เหยี่ยวทะเลทราย
17 ลิงเสน 82 เหยี่ยวปีกแดง
18 ลิงวอก 83 เหยี่ยวหน้าเทา
19 ลิงแสม 84 นกอินทรีหัวนวล
20 ค่างดำ 85 นกออก
21 ค่างแว่น ถิ่นใต้ 86 เหยี่ยวปลาใหญ่หัวเทา
22 ค่างหงอก 87 เหยี่ยวปลาเล็กหัวเทา
23 ค่างแว่น ถิ่นเหนือ 88 เหยี่ยวนิ้วสั้น
24 กระแตธรรมดา 89 เหยี่ยวรุ้ง
25 กระแตเล็ก 90 เหยี่ยวภูเขา
26 กระแตหางหมู 91 เหยี่ยวต่างสี
27 กระแตหางขนนก 92 เหยี่ยวดำท้องขาว
28 ลิ่นหรือนิ่มพันธ์มลายูManis javanica 93 เหยี่ยวหงอนสีน้ำตาลท้องขาว
29 เสือปลา 94 เหยี่ยวท้องแดง
30 แมวป่าหรือเสือกระต่ายFelis chaus 95 นกอินทรีแถบปีกแดง
31 หมาใน 96 นกอินทรีเล็ก
32 อีเห็นนำ้ 97 นกอินทรีดำ
33 อีเห็นลายเสือโคร่งหรืออีเห็นลายพาด 98 นกอินทรีปีกลาย

34 นกกก นกกาฮังหรือนกกะวะ 99 นกอินทรีสีน้ำตาล 35 นกกระเรียน 100 นกอินทรีหัวไหล่ขาว 36 นกกระสาดำ 101 พญาแร้ง 37 นกแก้วโม่ง102 อีแร้งดำหิมาลัย 38 นกแขกเต้า 103 อีแร้งสีน้ำตาล 39 นกแก้วหัวแพร 104 อีแร้งเทาหลังขาว 40 นกกะลิง,นกกะแล 105 เหยี่ยวทุ่ง 41 นกหกใหญ่ 106 เหยี่ยวทุ่งแถบเหนือ 42 นกหกเล็กปากแดง 107 เหยี่ยวด่างตาขาว 43 นกหกเล็กปากด า 108 เหยี่ยวเล็กตะโพกขาว 44 นกแสก 109 เหยี่ยวแมลงปอขาแดง 45 นกแสกแดง 110 เหยี่ยวแมลงปอขาดำ 46 นกเค้าเหยี่ยว 111 เหยี่ยวเคสตรัส 47 นกเค้าหน้าผากขาว 112 เหยี่ยวตีนแดง 48 นกเค้าแดง 113 เหยี่ยวฮอบบี้ยุโรป 49 นกเค้าภูเขา 114 เหยี่ยวค้างคาว 50 นกเค้าหูยาวเล็ก 115 นกแว่นสีเทา 51 นกเค้า,นกฮูก 116 นกแว่นสีน้ำตาล 52 นกเค้าแคระ 117 นกหว้า 53 นกเค้าโม่ง,นกเค้าแมว 118 งูจงอาง 54 นกเค้าจุด 119 งูสิงหางลาย 55 นกเค้าป่าหลังจุด 120 งูเหลือม 56 นกเค้าป่าสีน้ำตาล121 งูหลาม 57 นกเค้าแมวหูสั้น122 งูหลามปากเป็ ด 58 นกเค้าใหญ่พันธ์เนปาล123 งู เ ห่า 59 นกเค้าใหญ่พันธ์สุมาตรา124 เหี้ย,เหี้ยดอก,มังกรดอก 60 นกเค้าใหญ่สีคล้ำ125 ตัวเงินตัวทอง,เหาช้าง 61 นกทึดทือพันธุ์เหนือ 126 ตุ๊ดตู่ 62 นกทึดทือพันธุ์มลายู 127 แลนดอน 63 นกเงือกหัวแรด 128 เต่าเหลือง,เต่าเทียม,เต่าขี้ผึ้ง 64 นกแต้วแล้วลาย 129 เต่าเสือ,เต่ากระ,เต่าเขาสูง 65 นกเป็ดหงส์ 130 เต่าหก

ชนิดพันธุ์ในบัญชีหมายเลข 3

เป็นชนิดพันธุ์ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายของประเทศใดประเทศหนึ่งแล้วขอความร่วมมือประเทศภาคีให้ช่วยดูแลการนำเข้า คือจะต้องมีหนังสือรับรองการส่งออกจากประเทศ
ถิ่นกำเนิด
1 หมาจิ้งจอก Canis aureus 10 ควายบ้าน Bulalus arnee
2 หมาไม้ Martes flavigula 11 นกกระทาดงอกสีน้ำตาล Arborophila orientalis
3 เพียงพอนเหลือง Mustela sibirica 12 นกกระทาดงแข้งเขียว Arborophila charltonii
4 หมีขอหรือบินตุรง Arctictis binturong 13 ไก่ฟ้าหน้าเขียว Lophura ignita
5 อีเห็นธรรมดา Paradoxurus hermaphroditus 14 ไก่จุก Rollulus roulroul
6 ชะมดแผงสันหางดำ Viverra megaspila 15 งูปากกว้างน้ำเค็ม Cerberus rhynchops
7 ชะมดหางสั้นหางปล้อง Viverra Zibetha 16 งูลายสอ Xenochrophis piscator
8 ชะมดเช็ด Viverricula indica 17 งูแมวเซา Vipera russellii
9 พังพอนกินปูHerpestes urva

ที่มา http://www.fio.co.th/south/law/11/111.pdf

ไซเตส Cites เรื่องที่คนรักนกแก้วต้องรู้

Spread the love